สถาปัตยกรรม ทั้งในด้านแบบแผน การทำงาน และองค์ความรู้

สถาปัตยกรรม ยิ่งการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงทศวรรตหลังๆ นี้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้อาชีพสถาปนิกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เข้ากับยุคสมัย วันนี้ BuilderNews จะพาเพื่อนๆ ชาวสถาปนิกไปย้อนดูกันว่า ในไม่กี่ทศวรรตที่ผ่านมา บริบทของสถาปนิกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

1.วาดมือ vs โปรแกรม

ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ แต่ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันกระดานวาดต้องหลีกให้กับหน้าจอ โปรแกรม CAD และ parametric ได้กลายมาเป็นเครื่องมือในงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมสูงกว่าการใช้กระดาษวาดแบบดั้งเดิมเพราะความสะดวกที่คอมพิวเตอร์ให้ได้มากกว่า แต่ยังไงก็ตาม ดั่งคำที่ว่า “เก่าแต่เก๋า” การใช้กระดาษวาดด้วยมือ ก็ยังสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ว่าจ้างได้ดีไม่เปลี่ยนแปลง

2. เก่งฉายเดี่ยว vs ทีมเวิร์ก

ตั้งแต่อดีต ภาพของสถาปนิกคือคนเก่งที่ทำงานฉายเดี่ยว สามารถปั้นสิ่งอัศจรรย์จากความคิดได้ แต่วันนี้ สถาปนิกมักจะใช้วิธีการรวมตัวกันทำงานเพื่อแสวงหาความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เหมือนสถาปนิกรางวัลทูเนอร์ Assemble ที่เป็นการรวมตัวของสถาปนิกสองคน โรเบิร์ต เวนทูรี่ และ เดไนซ์ สก๊อต บราวน์

3.กฏการออกแบบดั้งเดิม vs เพิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์

กฏความสมมาตร สัดส่วน คือหัวข้อที่มักจะปรากฏในโรงเรียนหรือคณะสถาปัตย์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เคร่งครัดและสำคัญมากเรื่องความถูกต้องตามแบบแผน สถาปนิก แต่ปัจจุบันเป็นยุคของความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งกลายมาเป็นแนวทางสำคัญในการออกแบบ ทำให้นักเรียนสถาปนิกต้องให้ความสำคัญกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

4. Exclusivity vs. Inclusivity

แต่ก่อนเรื่องราวของวงการสถาปัตยกรรมนั้น มักจะถูกจำกัดวงอยุ่แค่เฉพาะในแวดวงของสถาปนิกหรือนักเรียนวิชาสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ตอนนี้ สื่อได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งมันก็มีอิทธิพลต่อวงการสถาปัตย์อย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจุดแข็งของสื่อคือทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งรายการอย่างเช่น Grand Design หรือรายการ podcast อย่าง 99% Invisible ทำให้มีผู้เข้าถึงเนื้อหาทางสถาปัตยกรรมมากขึ้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนในแวดวงสถาปัตย์เท่านั้น

5.ท้องถิ่น vs ทั่วโลก

ไม่เหมือนกับสิ่งก่อสร้างในอดีต สิ่งก่อสร้างในปัจจุบันถ้าดูแค่ดีไซน์ของตัวมันอย่างเดียว เราแทบจะบอกไม่ได้เลยว่ามันตั้งอยู่ที่ใหน การเคลื่อนที่ของวัฒนธรรมข้ามชาติได้ทำลายขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของงานสถาปัตยกรรมแล้ว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *